สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 กุมภาพันธ์ 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,405 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,486 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,884 บาท ราคาลดลงจากตันละ 8,084 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,510 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 787 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,242 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 758 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,699 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.83 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 543 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 432 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,856 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 430 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,011 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.47 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 155 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 432 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,856 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 424 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 40 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0733 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตลาดข้าวกลับมาเปิดการซื้อขายอีกครั้งหลังจากที่หยุดไปในช่วงเทศกาลตรุษจีน
(the Lunar New Year holiday) ขณะที่ภาวะการค้ายังไม่คึกคักมากนัก ซึ่งวงการค้าคาดว่าภาวะตลาดจะยังคงซบเซาไปจนถึงช่วงปลายเดือนมีนาคม 2565 โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ 395 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน อ่อนตัวลงจากระดับ 395-405 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
วงการค้าข้าวคาดว่า ผลผลิตข้าวฤดูการผลิตฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the main winter-spring harvest)
จะออกสู่ตลาดสูงสุดในช่วงกลางเดือนมีนาคม 2565 และคาดว่าในปี 2565 ตลาดนําเข้าข้าวที่สำคัญยังคงเป็นประเทศ ฟิลิปปินส์ และจีน ซึ่งคาดว่าจะมีความต้องการนําเข้าข้าวเพิ่มมากขึ้น
จากรายงานข้อมูลการส่งออกในเบื้องต้นของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม (the Customs Department)
ในเดือนมกราคม 2565 เวียดนามส่งออกข้าวได้ประมาณ 505,741 ตัน มูลค่าประมาณ 246.024 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.42 และร้อยละ 28.22 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564
และเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 2.79
The Oceanic Agency and Shipping Service รายงานว่า ในช่วงวันที่ 6-15 กุมภาพันธ์ 2565 จะมีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 9 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City (HCMC) Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 92,300 ตัน และในช่วงระหว่างวันที่ 10-21 กุมภาพันธ์ 2565 จะมีเรือบรรทุกสินค้า (breakbulk ships) อย่างน้อย 13 ลำ เข้ามารอรับสินค้าข้าวที่ท่าเรือ Ho Chi Minh City (HCMC) Port เพื่อรับมอบข้าวประมาณ 139,300 ตัน
รองนายกรัฐมนตรี นายเล วัน ถั่นห์ ได้ลงนามในยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทอย่างยั่งยืน ช่วงปี 2021-2030 (ช่วงปี 2564-2573) โดยมีเป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์ คือ การพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทอย่างยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2021-2030 (ช่วงปี 2564-2573) โดยมีวิสัยทัศน์ว่า ภายในปี 2050 (ปี 2593) จะเปลี่ยนเวียดนามให้เป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศภาคเกษตรกรรมชั้นนําของโลก
โดยรวมมีเป้าหมาย เพื่อการพัฒนาการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจบนข้อได้เปรียบของประเทศในด้านผลิตภาพ คุณภาพ ประสิทธิภาพ ความยั่งยืน และความสามารถในการแข่งขันสูง รับรองความมั่นคงด้านอาหารของชาติ และมีส่วนสร้างเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคม รับมือกับภัยธรรมชาติและการป้องกันและควบคุมโรคระบาด
การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิผล
ยุทธศาสตร์นี้ยังมุ่งไปที่การยกระดับรายได้คุณภาพชีวิต บทบาท และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ทางการเกษตร ตลอดจนสร้างงานนอกภาคเกษตรเพื่อช่วยบรรเทาความยากจนให้กับชาวบ้านในชนบท และเปิดโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกันในภูมิภาคต่างๆ นอกจากนี้ มีการกำหนดทิศทางและภารกิจเพื่อการพัฒนาการเกษตรและชนบทที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการสร้างโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรให้สมบูรณ์พร้อมกับความได้เปรียบทางการแข่งขันและความต้องการของตลาด
ภาคการเพาะปลูกต้องปรับโครงสร้างพืชผล และปรับการจัดการการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมการผลิตเชิงยุทธศาสตร์ที่รองรับอุปสงค์ภายในประเทศและรองรับการส่งออก รวมทั้งต้องจัดลำดับความสําคัญของการพัฒนาพืชผลจากความได้เปรียบและความต้องการ (พืชผลทางอุตสาหกรรม ไม้ผลเมืองร้อน และข้าวคุณภาพสูง)
นอกจากนี้ ควรดำเนินการตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพืชผลใหม่ที่มีศักยภาพดี รวมทั้งพืชสมุนไพร ไม้ประดับ และเห็ดที่รับประทานได้ การผลิตข้าวต้องส่งเสริมความได้เปรียบของอุตสาหกรรมข้าวของเวียดนาม ควบคู่ไปกับนวัตกรรมในการคิดนโยบายการจัดการ และการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกข้าวและการผลิตข้าว
ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังกําหนดให้มีการจัดระเบียบขั้นตอนที่สำคัญในการผลิตเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และรับรองการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือและการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าและรูปแบบการเกษตรขั้นสูง
การพัฒนาเศรษฐกิจในชนบทจะสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับชาวชนบท ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างชนบทที่มีความเจริญและทันสมัยร่วมกับการพัฒนาไปสู่เมืองและอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิม
ทั้งนี้ รัฐบาลมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เป็นประธานคณะทำงาน และประสานงานกับกระทรวง หน่วยงาน และท้องถิ่น ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์กระทรวง โดยจะต้องทบทวนสถานการณ์และรายงานต่อนายกรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี การประเมินเบื้องต้นจะมีขึ้นในปี 2025 (ปี 2568) และผลตามยุทธศาสตร์
จะประเมินในปี 2050 (ปี 2593)
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
กรมบริการการเกษตรต่างประเทศ (Foreign Agriculture Service) กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา
(the United States Department of USDA) ได้ประมาณการการนําเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ในปี 2565 เป็น 2.9 ล้านตัน สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ปริมาณ 2.5 ล้านตัน โดยระบุว่าการคาดการณ์ที่สูงขึ้นมาจากความต้องการนําเข้าข้าวที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ยังได้ปรับเพิ่มประมาณการการผลิตข้าวสารของฟิลิปปินส์ในปี 2564/65 เป็น 12.4 ล้านตัน จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 12.3 ล้านตัน รวมทั้งคาดการณ์ว่า
การบริโภคของฟิลิปปินส์จะเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยจะมีปริมาณการบริโภคอยู่ที่ 14.95 ล้านตัน จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 14.85 ล้านตัน
ทางด้านนาย Raul Montemayor ผู้จัดการสหพันธ์เกษตรกรอิสระ (the Federation of Free Farmers; FFF) กล่าวเตือนว่า การนําเข้าข้าวที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลให้ราคาข้าวเปลือกในประเทศตกต่ำลงได้ในช่วงฤดูแล้งที่จะถึงนี้ โดยนาย Raul Montemayor อ้างว่าในปี 2564 ฟิลิปปินส์มีการนําเข้าข้าวมากถึง 2.98 ล้านตัน ทำให้มีอุปทานส่วนเหลือจำนวนมากในช่วงที่เกษตรกรชาวนาเริ่มเก็บเกี่ยวพืชผลในฤดูแล้งนี้ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ส่งผลให้เกษตรกรจะต้องเผชิญกับราคาข้าวเปลือกที่ตกต่ำอีกครั้ง ในขณะที่ต้นทุนปุ๋ย เชื้อเพลิง และปัจจัยการผลิตอื่นๆ ยังคงอยู่ในระดับสูง และแม้ว่าเกษตรกรจะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้จำนวนมาก แต่จะไม่มีความหมายหากราคาผลผลิตข้าวเปลือกตกต่ำ
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (the Philippine Statistics Authority) แสดงให้เห็นว่า ราคาข้าวเปลือก (farmgate price of palay) ในประเทศปรับตัวลดลงในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564 โดยมีราคาอยู่ที่ 16.65 เปโซต่อกิโลกรัม ลดลงร้อยละ 9.5 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่ราคาอยู่ที่ 18.39 เปโซต่อกิโลกรัม นอกจากนี้สหพันธ์เกษตรกรอิสระ (FFF) ยังได้ทำการประเมินและวัดผลถึงผลกระทบของการจัดเก็บภาษีนําเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้น โดยระบุว่าภายใต้พระราชบัญญัติสาธารณรัฐ 11598 (Republic Act 11598) หรือพระราชบัญญัติความช่วยเหลือเงินสดสำหรับเกษตรกรฟิลิปปินส์ (The Cash Assistance for Filipino Farmers Act) ที่ได้รับผลกระทบจากราคาข้าวเปลือกตกต่ำ โดยกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (the Department of Agriculture; DA) ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินแจกจ่ายเงินสด (cash transfers) จำนวน 5,000 เปโซ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวนาที่มีพื้นที่นา 2 เฮกตาร์หรือน้อยกว่า ไปจนถึงปี 2567 โดยใช้งบประมาณที่ได้จากการจัดเก็บภาษีนําเข้าข้าว (rice tariffs) ในส่วนที่เกิน 1 หมื่นล้านเปโซต่อปี ที่ต้องจัดเก็บเข้ากองทุนเพื่อพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมข้าว (the Rice Competitiveness Enhancement Fund; RCEF) โดยพบว่าในปี 2564 รายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษีนําเข้าข้าวสูงถึง 1.9 หมื่นล้านเปโซ ซึ่งหมายความว่าจะมีการแจกจ่ายเงิน จำนวน 9 พันล้านเปโซ จากจำนวนดังกล่าวให้แก่เกษตรกรในรูปของเงินช่วยเหลือผ่านโครงการความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับชาวนา (The Rice Farmers Financial Assistance Program) ภายใต้พระราชบัญญัติ ดังกล่าว
อย่างไรก็ดี รายได้จากการจัดเก็บภาษีนําเข้าที่สูงขึ้นเกิดจากการนําเข้าข้าวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวเปลือกในประเทศตกต่ำลง โดยเงินจำนวน 9 พันล้านเปโซ ที่จะมอบให้กับเกษตรกรถือเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับรายได้ที่เกษตรกรต้องสูญเสียปีละประมาณ 6 หมื่นล้านเปโซ เมื่อเทียบกับช่วงก่อนที่กฎหมายเปิดเสรีนําเข้าข้าวบังคับใช้ (Rice Tariffication Law; RTL) นอกจากนี้ เกษตรกร 1 ใน 3 ของประเทศจะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือใดๆ ภายใต้พระราชบัญญัติ RA 11598 เนื่องจากมีการบังคับใช้เฉพาะกับเกษตรกรชาวนาที่มีพื้นที่เพาะปลูกไม่เกิน
2 เฮกตาร์เท่านั้น ผู้จัดการสหพันธ์เกษตรกรอิสระ (FFF) ระบุเพิ่มเติมว่า ผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมาไม่ได้ให้ประโยชน์กับเกษตรกรมากนัก เนื่องจากครึ่งหนึ่งของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้มาจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก และมีเพียงครึ่งหนึ่ง เป็นผลมาจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยในภาพรวมผลผลิตต่อเฮกตาร์เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.6 ในปี 2564 เทียบเท่ากับรายได้ที่เพิ่มขึ้นเพียง 1,095 เปโซต่อเฮกตาร์ ซึ่งไกลจากคํากล่าวอ้างที่ไม่มีมูลของกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ที่ออกมาระบุว่า ในปี 2564 แม้ว่าต้นทุนปุ๋ยจะเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น 10,000 เปโซต่อเฮกตาร์
ทั้งนี้ สหพันธ์เกษตรกรอิสระยังได้ตั้งคําถามถึงประสิทธิผลของการแทรกแซงของกระทรวงเกษตร โดยตั้งข้อสังเกตว่าผลผลิตที่เพิ่มขึ้นประมาณ 665,000 ตัน ในปี 2564 มีมูลค่าทางการตลาดเพียง 1.1 หมื่นล้านเปโซ โดยสหพันธ์เกษตรกรอิสระได้สนับสนุนการเรียกร้องให้เพิ่มงบประมาณทางการเกษตร แต่ต้องทำให้เกิดความมั่นใจว่า
จะมีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพ โดยเห็นว่าการใช้เงิน 1 เปโซ เพื่อให้ได้เงินคืนเพียง 1 เป โซ ไม่ใช่วิธีที่ดีในการใช้งบประมาณของรัฐบาล
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.95 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.19 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20.04
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 277.00 ดอลลาร์สหรัฐ (7,118.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 338.00 ดอลลาร์สหรัฐ (10,991.00 บาท/ตัน)  ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 18.05 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 3,873.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 649.00 เซนต์ (6,643.00 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 643.00 เซนต์ (8,349.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 1,706.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.664 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.387 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.796 ล้านไร่ ผลผลิต 32.499 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.318 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ลดลงร้อยละ 1.35 แต่ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.71 และร้อยละ 2.08 ตามลำดับ โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 7.36 ล้านตัน (ร้อยละ 22.49 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.30 ล้านตัน (ร้อยละ 62.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นและคุณภาพดี สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.28 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.29 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.44
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.96 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.41 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 7.02
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.52 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.46 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.80
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 246 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,890 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากเฉลี่ยตันละ 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,983 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.41
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,652 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (15,901 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 1.198 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.216 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.986 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.177 ล้านตันของเดือนมกราคม คิดเป็นร้อยละ 21.50 และร้อยละ 22.03  ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 8.51 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 8.14 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 47.75 บาท ลดลงจาก กก.ละ 48.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.05    
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
มาเลเซียยังคงภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบเดือนมีนาคมที่ร้อยละ 8.00 แต่ขึ้น reference price จากเดิม 4,907.14 ริงกิตในเดือนกุมภาพันธ์ เป็น 5,277.58 ริงกิต โครงสร้างภาษีส่งออกของมาเลเซีย เริ่มที่ร้อยละ 3.00 (ราคา 2,250 – 2,400 ริงกิต) และร้อยละ 8.00 (ราคามากกว่า 3,450 ริงกิต) เป็นอัตราสูงสุด ซึ่งคาดว่าราคาน้ำมันปาล์มที่ปรับตัวสูงขึ้นเกิดจากผลผลิตที่ตึงตัวและสถานการณ์ตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซีย ที่ผลักให้ราคาน้ำมันดิบ Brent oil สูงขึ้น จึงผลักให้ราคาน้ำมันพืชสูงขึ้น
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 5,984.27 ดอลลาร์มาเลเซีย (46.85 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 5,624.33 ดอลลาร์มาเลเซีย (44.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.40      
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,507.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (48.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,429.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (47.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.46
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          ปริมาณน้ำฝนที่ดีในพื้นที่ภาคกลาง-ใต้ของบราซิลช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ คาดว่าจะทำให้ผลผลิตอ้อย 2565/2566 ฟื้นตัว 10% ตามการรายงานของ Esalq/USP’s TempoCampo System ทั้งนี้ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด การฟื้นตัวของผลผลิตอ้อยจะอยู่ที่ 5% ขณะที่ในกรณีที่ดีที่สุดนั้นการฟื้นตัวของผลผลิตอ้อยจะสูงถึง 14% โดยประมาณการผลผลิตอ้อยอยู่ที่ 556-567 ล้านตัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกอ้อย ในขณะเดียวกัน Pecege ตั้งเป้าผลผลิตอ้อยไว้ที่ 550 ล้านตัน ด้าน Marex Spectron คาดการณ์ว่า ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 554 ล้านตัน เทียบกับ 560 ล้านตัน ตามการสำรวจความคิดเห็น Reuters ที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ Marex Spectron ยังแนะนำว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ต่ำกว่าเผยให้เห็นความไม่แน่นอนที่สำคัญเกี่ยวกับปริมาณผลผลิต
          ผู้บริหารของ Raizen คาดว่าในระยะยาวราคาน้ำตาลจะสูงขึ้น เนื่องจากอินเดียกำลังเปลี่ยนไปผลิตเอทานอล และราคาตลาดโลกในปัจจุบันก็ต่ำเกินไปที่จะกระตุ้นให้มีการขยายการผลิต




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,580.80 เซนต์ (18.80 บาท/กก.)สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,580.48 เซนต์ (19.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.02
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 446.74 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.52 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 455.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15.05 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.00
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 66.56 เซนต์ (47.68 บาท/กก.)สูงขึ้นจากปอนด์ละ 64.60 เซนต์ (47.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.03


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.74 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.79 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.17
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 937.33 ดอลลาร์สหรัฐ (30.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 919.60 ดอลลาร์สหรัฐ (29.96 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.93 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.10 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 811.33 ดอลลาร์สหรัฐ (26.02 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 796.20 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.08 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (41.15 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,258.80 ดอลลาร์สหรัฐ (41.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 654.00 ดอลลาร์สหรัฐ (20.98 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 641.80 ดอลลาร์สหรัฐ (20.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,120.00 ดอลลาร์สหรัฐ (35.92 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,098.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.79 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.97 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.13 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.67 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.80
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.18 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.76 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 122.56 เซนต์(กิโลกรัมละ 87.81 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 126.02 เซนต์ (กิโลกรัมละ 91.71 บาท) ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 2.75 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.90 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,815 บาท สูงกว่ากิโลกรัมละ 1,796 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,523 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,005 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีมากกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  94.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.20  คิดเป็นร้อยละ 2.91 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.57 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 91.94 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 97.84 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 91.89 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,900 บาท ลดลงจากตัวละ 3,200 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.38 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.83 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 99.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.72 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.44 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.67 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 40.77 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 299 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 301 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 308 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 298 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.25 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 361 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 369 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.61 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 379 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 375 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 329 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 386 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.21 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 99.29 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.92 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.90 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.90 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 79.35 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 - 20 กุมภาพันธ์ 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.93 บาท ราคาสูงลดลงจากกิโลกรัมละ 49.10 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.17 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น             
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.47 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 79.86 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.61 บาท เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 182.13 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 177.74 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.39 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 180.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 182.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.19 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.24 บาท เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลปิดอ่าวไทยตอนล่างตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ - 15 พฤษภาคม 2565 ทำให้ชาวประมงจับปลาได้น้อยลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้และราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.86 บาท ราคาลดสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.56 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.30 บาท สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.50 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 34.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.50 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 29.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.50 บาท